เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 2 มิถุนายน 2566 โดย ชลาลัย กมลคุณาชัย จำนวนผู้เข้าชม 1251 คน
วันนี้ (2 มิ.ย. 66) เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมเพตรา โรงแรมดีวาลักซ์ รีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทราปราการ ศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาชีพและเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก จัดกิจกรรมการประชุมสัมมนานำเสนอนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการขยายความร่วมมือกับสถานประกอบการในระบบการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียนในโรงงาน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานเปิดโครงการ ภายในงานมีการบรรยายพิเศษเรื่องแนวคิดการพัฒนาระบบรองรับการขยายผลหลักสูตรอุดมศึกษาเพื่อเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมแบบบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูลศักดิ์ โกษียากรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ) การพัฒนากระบวนการจัดการการเรียนการสอนร่วมสถานประกอบการ (โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานเพชร ชินินทร กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) การเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านการศึกษาต่อ รองรับการจัดการเรียนการสอนร่วมสถานประกอบการ (โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์สมโภชน์ กูลศิริศรีตระกูล ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ) การเสวนาเรื่องนวัตกรรมการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียนในโรงงาน SiF การนำเสนอผลงานวิชาการโดยคณะอาจารย์และนักศึกษาโครงการ และพิธีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนากับสถานประกอบการ 11 แห่ง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ทำความร่วมมือกับสถานประกอบการเพื่อร่วมกันจัดการศึกษาให้โอกาสนักศึกษาได้เข้าไปเรียนรู้ควบคู่กับการฝึกประสบการณ์การทำงานในสถานประกอบการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 ด้วยความคาดหวังในการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้สมรรถที่ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านของอุตสาหกรรม และตอบโจทย์การพัฒนากำลังคนของประเทศ มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแล้วทั้งสิ้น 5 รุ่น จำนวน 67 คน ประกอบด้วย
1. หลักสูตรครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาครุศาสตรอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี จำนวน 2 รุ่น โดยความร่วมมือกับกลุ่มบริษัท บีดีไอ มีนักศึกษาสำเร็จการศึกษาและประกอบอาชีพแล้ว จำนวน 25 คน
2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จำนวน 3 รุ่น มีนักศึกษาทั้งสิ้น 42 คน โดยความร่วมมือกับกลุ่มบริษัท บีดีไอ และบริษัทกลุ่มเครื่องมือตัดไทย มีนักศึกษาสำเร็จการศึกษาและประกอบอาชีพแล้ว จำนวน 35 คน และกำลังจะสำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษานี้ จำนวน 7 คน
สำหรับปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ขยายความร่วมมือกับสถานประกอบการในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการผลิต (ต่อเนื่อง) ภาคพิเศษ รุ่นที่ 1 โดยมีการสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาภายนอกจากสถาบันการศึกษาต่างๆ และนักศึกษาภายในที่เป็นพนักงานของบริษัท มีจำนวนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 27 คน และมีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 11 แห่ง ประกอบด้วย
1. กลุ่มบริษัทเครื่องมือตัดไทย (TCTM)
1.1 บริษัท ท็อปเทค ไดมอนด์ ทูลส์ จำกัด ที่ตั้ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
1.2 บริษัท ดับบลิว พี.พี. เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ที่ตั้ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
1.3 บริษัท มาสเตอร์พีซ (ไทยแลนด์) จำกัด ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร
1.4 บริษัท ทูลลิ่ง เอ็กแซ็กท์ จำกัด ที่ตั้ง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทราปราการ
1.5 บริษัท ซี.เค.อี.แอนด์ เอส. จำกัด ที่ตั้ง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
1.6 บริษัท ไทยสินแสตนเลส จำกัด ที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทราปราการ
1.7 บริษัท จิตชัย เอ็นจิเนียริ่ง โปรดักท์ จำกัด ที่ตั้ง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
1.8 บริษัท เพาเวอร์ สแตนเลส สตีล จำกัด ที่ตั้ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
2. บริษัท เค.ดี.เค.ไอ. แอนด์ พาร์ท จำกัด ที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
3. บริษัท เจเนอรัล สปริง เซ็นเตอร์ จำกัด ที่ตั้ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
4. บริษัท อุดมเดช ซัพพลาย จำกัด ที่ตั้ง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ภาพเพิ่มเติม: Facebook มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา