โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ตาก เดินหน้าอบรมการควบคุมหุ่นยนต์เชื่อม ยกระดับศักยภาพบุคลากรและนักศึกษา พร้อมนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

มทร.ล้านนา ตาก เดินหน้าอบรมการควบคุมหุ่นยนต์เชื่อม ยกระดับศักยภาพบุคลากรและนักศึกษา พร้อมนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 13 กันยายน 2566 โดย ชลาลัย กมลคุณาชัย จำนวนผู้เข้าชม 785 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการควบคุมหุ่นยนต์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานเชื่อม ระหว่างวันที่ 12-13 กันยายน 2566 ณ ศูนย์ปฏิบัติการระบบการผลิตอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ ยาทะเล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารฯ เป็นประธานเปิดการอบรม มีบุคลากรและนักศึกษาเข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 25 คน ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้ทราบถึงการใช้งานหุ่นยนต์สำหรับการจัดการเรียนการสอน ส่วนประกอบของหุ่นยนต์ Robot Coordinate Systems การเคลื่อนที่หุ่นยนต์ ฝึกการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์เบื้องต้น พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติและทดสอบการการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์สำหรับงานเชื่อม 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ เล็งเห็นว่าปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้เข้ามามีบทบาทและใช้อย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งมีการขยายตัวเป็นอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านช่างเทคนิคอุตสาหกรรมและสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้ามาวางแผนและนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาใช้งานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตแทนที่แรงงานมนุษย์ เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถทำงานได้หลากหลาย อีกทั้งยังหุ่นยนต์สามารถทำงานในพื้นที่อันตรายที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานเป็นเวลานานๆ ได้ ดังนั้นจึงได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการควบคุมหุ่นยนต์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและการทำงานให้แก่บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา รวมทั้งนักศึกษาและผู้ที่สนใจ เพื่อช่วยยกระดับการเรียนการสอนและการทำงาน อีกทั้งส่งเสริมให้บุคลากรเพิ่มศักยภาพและองค์ความรู้เพื่อจะไปต่อยอดในการจัดการเรียนการสอนและการใช้องค์ความรู้นี้ในการทำงานต่อไป







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon