โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมผ่านงานวิจัย ผสานความร่วมมือมหาวิทยาลัยฟุกุอิสนับสนุนการออกแบบสร้างสรรค์ ดึงหัตถกรรมท้องถิ่น พัฒนางานหัตถศิลป์สู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

มทร.ล้านนา แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมผ่านงานวิจัย ผสานความร่วมมือมหาวิทยาลัยฟุกุอิสนับสนุนการออกแบบสร้างสรรค์ ดึงหัตถกรรมท้องถิ่น พัฒนางานหัตถศิลป์สู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 17 พฤษภาคม 2565 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 3373 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นผู้แทนอธิการบดี ในพิธีลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น “Koyori Project 2022” ร่วมกับสมาคมวัฒนธรรมและหัตถกรรมล้านนา (LCCA) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุกุอิ (Fukui University of Technology)  ประเทศญี่ปุ่นโดย ศาสตราจารย์ ดร.โทโมยุกิ คาเคชิตะ อธิการบดี ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานจะร่วมกันสนับสนุนและให้ความร่วมมือในด้านการศึกษาและวิจัยที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่ การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรในการฝึกงาน การพัฒนาโปรแกรมการสอนภาษามืออาชีพและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรร่วมในระดับปริญญาและประกาศนียบัตร ซึ่งในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และคณะผู้บริหารของกระทรวงร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุกุอิ (Fukui University of Technology) ประเทศญี่ปุ่น

            ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า กระทรวงของเรามีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาคน ความรู้พื้นฐาน เทคโนโลยี และระบบสนับสนุน เพื่อเชื่อมโยงผลงานสู่การใช้ประโยชน์และการพัฒนาสังคม โดยมีหน่วยงานขับเคลื่อนที่สำคัญในการบริหารจัดการงานวิจัยของประเทศ โดยได้จัดตั้งวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือเรียกว่า “ธัชชา” เพื่อทำให้คนไทยเห็นคุณค่าเรื่องราวในอดีต ศึกษา วิจัยและพัฒนาด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวัฒนธรรม ยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศเพื่อกระจายสู่สายตาประชาคมโลก และการจัดตั้งวิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Sciences : TAS) หรือเรียกว่า “ธัชวิทย์” เพื่อ เชื่อมโยงเครือข่ายนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัย สร้างคลังสมองของประเทศ ผลิตบัณฑิตสมรรถนะสูงในด้านที่สำคัญตามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนวิทยาการเพื่อการพัฒนาประเทศ เดินด้วยสองขา “ธัชขา” – “ธัชวิทย์” ความร่วมมือตาม MOU ในวันนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้ประกอบการ เป็นการนำประสบการณ์และความรู้แบบบูรณาการมาสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ยกระดับสร้างแบรนด์ เข้าสู่ระบบการค้าแบบสากล และช่วยพัฒนาประเทศไทยต่อไป

        ในโอกาสนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและสมาคมวัฒนธรรมและหัตถกรรมล้านนา ได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการผลงานการออกแบบเชิงสร้างสรรค์โครงการ  Koyori Project 2021 อีกด้วย

 

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จากเวบไซต์ https://www.kanaigakuen.jp/action-book/entry-5574.html#prettyPhoto

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา