โลโก้เว็บไซต์ วิศวกรรมไฟฟ้า มทร.ล้านนา ตาก จับมือ รพ.แม่สอด ผลิตเครื่องส่องไฟฯ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

วิศวกรรมไฟฟ้า มทร.ล้านนา ตาก จับมือ รพ.แม่สอด ผลิตเครื่องส่องไฟฯ

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 12 ธันวาคม 2555 โดย นริศรา สกุลสอน จำนวนผู้เข้าชม 861 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา ตาก ร่วมกับโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ผลิตเครื่องส่องไฟชนิดแอลอีดี (LED) สำหรับรักษาภาวะตัวเหลืองในเด็กทารกแรกเกิด โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี มทร.ล้านนา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เป็นตัวแทนมอบเครื่องส่องไฟชนิดแอลอีดี (LED) สำหรับรักษาภาวะตัวเหลืองในเด็กทารกแรกเกิด แก่โรงพยาบาลแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก เวลา 10.00 น. วันที่ 10 มิถุนายน 2558 นายแพทย์จรัล วิวัฒน์คุณูปการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สอด พร้อมคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแม่สอด ให้การต้อนรับ รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี มทร.ล้านนา คณะผู้บริหาร และสมาคมศิษย์เก่าราชมงคลตาก ในการเดินทางมามอบเครื่องส่องไฟชนิดแอลอีดี (LED) สำหรับรักษาภาวะตัวเหลืองในเด็กทารกแรกเกิด จำนวน 10 เครื่อง มูลค่า 150,000 บาท โดยได้รับการสนันสนุนงบประมาณจาก ดร.อุดร ตันติสุนทร ประธานมูลนิธิช่วยการศึกษาตันติสุนทร และเป็นบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.ล้านนา ประจำปีการศึกษา 2556 ณ ห้องประชุมรัตมณี ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 พระชนมพรรษา โรงพยาบาลแม่สอด โดยเครื่องดังกล่าวเป็นผลงานของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ตาก ผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ชุมชน และจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น จากสถิติพบว่า ปี 2555 - 2557 พบเด็กทารกที่มีภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง(Hyperbilirubin) เฉลี่ย 200 - 400 ราย/ปี ในการประดิษฐ์เครื่องนี้ ได้ผ่านกระบวนการวิจัยและสามารถรับรองผลการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีแหล่งกำเนิดแสงจากหลอดแอลอีดีแสงสีนำเงิน จำวน 300 หลอด กำเนิดแสงสีน้ำเงินในช่วงค่าความยาวคลื่น 465-475 นาโนเมตร ซึ่งค่าความยาวคลื่นดังกล่าวสามารถรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้ นอกจากนี้เครื่องต้นแบบที่สร้างขึ้น ได้ทำการทดสอบด้านคุณลักษณะทางแสง ด้านการใช่พลังงานและด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่า ประการแรก หลอดแอลอีดีมีค่าความยาวคลื่นใกล้เคียง 460 นาโนเมตร โดยไม่มีรังสีอัลตราไวโอเลตและสามารถปรับค่าความเข้มแสงได้ในช่วงประมาณ 20 -30 ไมโครวัตต์ต่อตารางเซนติเมตรต่อนาโนเมตร โดยการปรับระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับพื้นที่ใช้งาน ประการที่สองเมื่อเปรียบเทียบเครื่องต้นแบบกับเครื่องของโรงพยาบาลตากสินราชานุสรณ์ รุ่น TSM PHO-14359 ในช่วงระยะเวลาใช้งาน 3 ปี เครื่องต้นแบบใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 293 กิโลวัตต์-ชั่วโมง เครื่องของโรงพยาบาลใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 2063 กิโลวัตต์-ชั่วโมง เครื่องต้นแบบที่สร้างขึ้นใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าเครื่องของโรงพยาบาล 1770 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ประการที่สาม จากการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์เมื่อเปรียบเทียบในช่วงระยะเวลาใช้งานสามปีโดยคิดค่าไฟฟ้าเฉลี่ยหน่วยละ 380 บาท คงที่ พบว่าเครื่องต้นแบบมีต้นทุนในการสร้างเครื่องเท่ากับ 20,000 บาท ค่าไฟฟ้า 3,300 บาท โดยไม่มีค่าเปลี่ยนหลอด มีค่าใช้จ่ายรวม 23300 บาท และเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องของโรงพยาบาลมีราคา 20500 บาท ค่าไฟฟ้า 7732 บาท และค่าเปลี่ยนหลอด 12000 มีค่าใช้จ่ายรวม 40 232 ซึ่งจะพบว่าเครื่องต้นแบบมีค่าใช้จ่ายรวมต่ำกว่าเครื่องหลอดฟลูออเรสเซนต์ของโรงพยาบาล 1.72 เท่า นับว่ามหาวิทยาลัยฯ ได้ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน ตลอดจนวงการแพทย์สืบไป   






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon