เผยแพร่เมื่อ : พุธ 4 มกราคม 2560 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 4887 คน
ปัจจุบันการขนส่งสินค้าเพื่อการบริโภคนั้นมีการใช้สารเคมีที่เรียกว่า
ฟอร์มาลิน แช่ในเนื้อสัตว์ ผักผลไม้
เพื่อยืดอายุของการผลผลิตให้มีความสดและเก็บรักษาได้นานขึ้น เพราะเนื่องจากประเทศไทยมีอากาศร้อน
การเก็บรักษาของสดนั้นจะทำได้ยาก
รวมถึงระบบการขนส่งในจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคยังมีระยะเวลานาน นักวิจัย มทร.ล้านนา
จึงได้คิดค้นเทคโนโลยีเพื่อการรักษาผลผลิตทางการเกษตรจึงได้ร่วมกับ Prof.Dr.Kiyoshi Yoshikawa นักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นและอาจารย์ประจำของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ร่วมกันพัฒนาความรู้สู่การผลิตเทคโนโลยีที่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาอาหารไว้ให้นานยิ่งขึ้น
หรือที่เรียกว่า ฟองอากาศขนาดเล็กหรือไมโครนาโนบับเบิลเพื่อคงความสดของอาหาร
รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี
กล่าวว่า “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่เรียกว่า ไมโครนาโนบับเบิลนี้ได้ใช้ความรู้ที่มีการพัฒนามาจากประเทศญี่ปุ่นโดยมีการประยุกต์ใช้เพื่อการผลิตเครื่องมือที่เน้นประโยชน์ในการรักษาและยืดอายุของผลผลิตทางการเกษตรโดยจะเน้นพืชผัก
ผลไม้และเนื้อสัตว์ ที่ทำการเคลื่อนย้ายจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง
ซึ่งขั้นตอนการผลิตไปสู่การบริโภคจะใช้เวลานาน
ซึ่งแต่เดิมเราใช้สารเคมีที่เรียกกันว่า ฟอร์มาลีน
เพื่อรักษาความสดของอาหารถือว่าเป็นการบริโภคที่มีอันตรายมากเพราะสารเหล่านี้จะเกิดการตกค้างและส่งผลเสียแก่ร่างกายนักวิจัยของ
มทร.ล้านนา จึงได้เกิดแนวคิดในการผลิตเครื่องสร้างฟองอากาศขนาดเล็กหรือที่เรียกว่า
ไมโครนาโนบับเบิลเพื่อสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ลงสู่ภาคการผลิต สู่ครัวเรือนต่อไป
ปัจจุบันมทร.ล้านนา ได้ทำการเปิด “ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการประยุกต์ใช้ไฟฟ้าแรงสูงพลาสมาและไมโครนาโนบับเบิลเพื่อการเกษตรขั้นสูง”
เพื่อจะป็นการเรียนรู้ ทดลอง
วิจัยเพื่อที่จะได้ขยายผลสู่การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในส่วนอื่นด้วย”
ผศ.ดร.วิษณุ ทองเล็ก
อาจารย์คณะวิศวกรรมไฟฟ้า มทร.ล้านนา กล่าวว่า “การหลักการทำงานของเครื่องผลิตฟองอากาศขนาดเล็กหรือไมโครนาโนบับเบิล
ก็คือ นำเอาก๊าซในโตรเจนผสมในน้ำธรรมดาทั่วไป สัดส่วนก๊าซไฮโดรเจน 30 ลิตร
ต่อน้ำเปล่า 500 ลิตรจาก ทำให้ค่าการละลายของออกซิเจนในน้ำลดลง จาก 7.8
มิลลิกรัมต่อลิตร เหลือ 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร
โดยผ่านกระบวนการทางเทคนิค ไมโครนาโนบับเบิล ซึ่งเป็นฟองก๊าซขนาดเล็ก
ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
เมื่อทดสอบโดยการใช้แสงเลเซอร์ยิงผ่านในน้ำจะมองเห็นเป็นฟองอากาศขนาดเล็กมากๆ
ผ่านลำแสงลอยอยู่ใต้ผิวน้ำ ส่วนฟองอากาศที่เป็นขนาดไมโครก็จะลอยสู่ผิวน้ำ
และเมื่อนำน้ำไปผลิตน้ำแข็งที่มีค่าการละลายออกซิเจนต่ำ
ทำให้เชื้อแบคทีเรียชนิดที่ใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโตที่มีในน้ำตาย
หรือไม่เติบโต
ตัวอย่างเช่นน้ำแข็งที่ใช้น้ำนาโนผลิตจะสามารถทำให้ถนอมอาหารสดได้นานขึ้น
เช่น แช่ปลาสด จากปกติได้ 4 วัน ทำให้แช่ได้นานขึ้นถึง 8 วัน เป็นต้น ซึ่งเหมาะสำหรับนำไปทดแทนการใช้สารฟอร์มาลินกับอาหารสด เพื่อไม่ให้เน่าเสียง่าย”
การรักษาความสด ใหม่ของอาหารโดยเทคโนโลยีไมโครนาโนบับเบิ้ล
เป็นอีกหนึ่งความสำคัญของการรักษาคุณภาพของอาหารจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคโดยปราศจากสารเคมีหรือสิ่งเจือปน
นวัตกรรมไมโครนาโนบับเบิ้ล เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์แนวคิดเพื่อนำเทคโนโลยีที่มีประโยชน์แก่ภาคอุตสาหกรรม
ภาคการเกษตร และการขนส่งและจะต่อยอดเพื่อขยายผลไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมระดับประเทศต่อไป
คลังรูปภาพ : นาโนพลาสมา
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา