โลโก้เว็บไซต์ พิธีปิดการแข่งขัน ฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 29 ประเภทหุ่นยนต์เคลื่อนที่ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

พิธีปิดการแข่งขัน ฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 29 ประเภทหุ่นยนต์เคลื่อนที่

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 24 พฤษภาคม 2566 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 1622 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา มทร.ล้านนา กล่าวปิดแข่งขันและมอบเหรียญรางวัลให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน ภายหลังเสร็จสิ้นการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 29 (WorldSkills Thailand National Competition 2023) สาขาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ประเภททีม) โดยมีนางบุษบา บุญศรี ผู้อำนวยการกลุ่มงานมาตรฐานฝีมือแรงงาน สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานที่ 19 เชียงใหม่ เป็นผู้กล่าวรายงานผลการแข่งขัน ณ อาคารวิศวกรรมศาสตร์ C3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจและสนับสนุนกำลังแรงงานให้มีความพร้อมในการพัฒนาฝีมือของตนเอง ให้ได้มาตรฐานและทัดเทียมกับมาตรฐานสากล โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงฝีมือ และเป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันฝีมือแรงงานในเวทีระดับอาเซียน เอเชีย และนานาชาติ มีทีมที่ผ่านการคัดเลือกระดับภูมิภาคเข้าแข่งขัน จำนวน 7 ทีม ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก ( 2 ทีม), วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี, ศูนย์การเรียนรู้การเขียนโปรแกรมและนวัตกรรมหุ่นยนต์ เชียงใหม่ , วิทยาลัยเทคนิคลำปาง, มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ซึ่งผลการแข่งขันมีดังนี้
- รางวัลเหรียญทอง พร้อมเงินรางวัล จำนวน 60,000 บาท ได้แก่ทีมจากศูนย์การเรียนรู้การเขียนโปรแกรมและนวัตกรรมหุ่นยนต์ เชียงใหม่
- รางวัลเหรียญเงิน พร้อมเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาท ได้แก่ทีมจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- รางวัลเหรียญทองแดง พร้อมเงินรางวัลจำนวน 20,000 บาท ได้แก่ทีมจากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
- รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท ได้แก่ทีมจากวิทยาลัยเทคนิคลำปาง 
     โดยทีมที่ได้เหรียญรางวัลทั้งหมดจะได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย เพื่อไปแข่งขันฝีมือแรงงานในระดับอาเซียนครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 18-28 กรกฎาคม 2566 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ต่อไป
     สำหรับการแข่งขันดังกล่าวสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ ได้เป็นหน่วยงานหลักในการเตรียมการและจัดการแข่งขันขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนด้านสถานที่การแข่งขัน เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการแข่งขันจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา