โลโก้เว็บไซต์ ประกาศรับข้อเสนอ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการ ขับเคลื่อนและขยายผล งานใต้ร่มพระบารมีสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

ประกาศรับข้อเสนอ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการ ขับเคลื่อนและขยายผล งานใต้ร่มพระบารมีสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 9 พฤศจิกายน 2565 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 3342 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

แผนงาน “ใต้ร่มพระบารมี” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ประกาศรับข้อเสนอโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการ

ขับเคลื่อนและขยายผล งานใต้ร่มพระบารมีสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน

 

ขอบเขตการดำเนินงาน

          ขอบเขตเชิงพื้นที่และประเด็นสอดคล้องกับเป้าหมายแผนการดำเนินงาน “ใต้ร่มพระบารมี” แผนงานย่อย “ขับเคลื่อนและขยายผล งานใต้ร่มพระบารมีสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน” และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และศาสตร์พระราชาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

      1.เป้าหมายของแผนงาน

  • หลักสูตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเพิ่มประสิทธิภาพ (upskill reskill and new skill) เพื่อให้เกิดงานวิจัยที่ตอบโจทย์ในพื้นที่สำหรับคนทุกช่วงวัยและทันท่วงที
  • องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อความยั่งยืนแก่ชุมชน
  • บุคลากรของมหาวิทยาลัยมืออาชีพ ที่มีความเชี่ยวชาญ (Professional) บนฐานความรู้ด้านการทำงานเชิงพื้นที่และเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Area and Technology Based)
  • เกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ภายใต้การดำเนินงานใต้ร่มพระบารมี  
  • การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัย กับภาคีเครือข่ายงานใต้ร่มพระบารมี
  • เกิดกิจกรรมการให้บริการวิชาการแก่สังคม
  • โจทย์ปัญหาในพื้นที่จริงสำหรับการออกแบบ เพื่อการพัฒนางานวิชาการสู่การใช้ประโยชน์
  • ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเพื่อการฝึกนักปฏิบัติ งานใต้ร่มพระบารมี จำนวน 3 แห่ง

       2. กรอบการเปิดรับข้อเสนอ

  1. การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดต้นทุนและการสร้างรายได้บนพื้นที่สูง
  2. การพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบนพื้นที่สูง
  3. การพัฒนาและยกระดับศักยภาพทักษะและบ่มเพาะอาชีพเพื่อประชาชนในพื้นที่ใต้ร่มพระบารมี
  4. ส่งเสริมการสร้างจิตอาสาพัฒนาชุมชนเพื่อคนพื้นที่สูง
  5. บริหารการถ่ายทอดองค์ความรู้งานใต้ร่มพระบารมี

 

       3. กรอบงบประมาณและระยะเวลา

  1. การจัดสรรงบประมาณ กรอบงบประมาณการสนับสนุนการดำเนินงาน ดังนี้
    1. การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดต้นทุนและการสร้างรายได้บนพื้นที่สูง รวมไม่เกิน 850,000 บาท
    2. การพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบนพื้นที่สูง รวมไม่เกิน 400,000 บาท
    3. การพัฒนาและยกระดับศักยภาพทักษะและบ่มเพาะอาชีพเพื่อประชาชนในพื้นที่ใต้ร่มพระบารมี รวมไม่เกิน 350,000 บาท
    4. ส่งเสริมการสร้างจิตอาสาพัฒนาชุมชนเพื่อคนพื้นที่สูง รวมไม่เกิน 100,000 บาท
    5. บริหารการถ่ายทอดองค์ความรู้งานใต้ร่มพระบารมี รวมไม่เกิน 350,000 บาท
  2. ระยะเวลาดำเนินงานวิจัย 10 เดือน ( 20 พฤศจิกายน 2565 – 20 กันยายน 2566)

 

         4.  พื้นที่การดำเนินงาน

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ทั้งหมด 39 แห่ง ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา และตาก

         5.   คุณสมบัติของผู้เสนอขอทุน

ผู้มีสิทธิเสนอขอทุน คือ คณะ/เขตพื้นที่/สถาบัน/หน่วยงาน/นักวิจัย สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

 

แนวทางการจัดการ

          เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการงานถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการที่โปร่งใส มีส่วนร่วม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสมดุล โดยยึดผลกระทบต่อการพัฒนาแผนงานใต้ร่มพระบารมี คณะทำงานจึงได้วางการบริหารจัดการทุนวิจัยและพัฒนา ดังนี้

  1. แผนงานใต้ร่มพระบารมี สังกัดสำนักงานอธิการบดี เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย โดยประกาศให้รับทราบโดยทั่วถึงกัน
  2. เมื่อได้รับข้อเสนอโครงการวิจัยแล้ว แผนงานใต้ร่มพระบารมี สังกัดสำนักงานอธิการบดี จะได้สรุปภาพรวมและพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อกลั่นกรองเบื้องต้น
  3. แผนงานใต้ร่มพระบารมี สังกัดสำนักงานอธิการบดี จะมีกระบวนการพิจารณาข้อเสนอโครงการโดยคณะกรรมการพิจารณาติดตามและประเมินผล ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Expert content) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ (Stakeholder) และผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย (User) แล้วสรุปภาพรวมเพื่อแจ้งผลการพิจารณาต่อนักวิจัยเพื่อปรับข้อเสนอโครงการและจัดทำสัญญารับทุนวิจัยและพัฒนาต่อไป

 

เกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอโครงการ

  1. เกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอโครงการ มีเกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอโครงการได้แก่ เป้าหมายและตัวชี้วัดที่สามารถดำเนินการได้จริง กระบวนการและการออกแบบการตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ มีความสอดคล้องกับศาสตร์พระราชาในการดำเนินงาน มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กระบวนการและกลไกความร่วมมือในพื้นที่เป้าหมาย ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของผู้รับผิดชอบโครงการ ความชัดเจนของ output และความคุ้มค่าของการลงทุน (value of money) เมื่อเทียบกับจำนวนผู้รับประโยชน์(unit cost) รวมถึงโอกาสประสบความสำเร็จของโครงการ
  2. บุคลากร 1 ท่านสามารถเป็นหัวหน้าโครงการได้เพียง 1 โครงการ
  3. กรณีโครงการวิจัยที่มีการสะท้อนความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาคีผู้ใช้งานในระดับพื้นที่ โดยมีความร่วมมือในรูปแบบของงบประมาณสมทบหรือการสนับสนุนอื่นๆ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
     

ประกาศผลการพิจารณา 
ผ่านระบบสารสนเทศหน่วยงาน https://trpb.rmutl.ac.th/ และ https://trpb-app.rmutl.ac.th/submission/main.php ภายในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 
 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
นายวัชระ กิตติวรเชฏฐ์  หมายเลขโทรศัพท์ 09-3591-6929  อีเมล watchara3efora@gmail.com
 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง 
ดาวน์โหลด แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ
คลิ๊กที่นี้ ส่งข้อเสนอโครงการ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา