โลโก้เว็บไซต์ MV สรุปกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี พ.ศ.2563 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

MV สรุปกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี พ.ศ.2563

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 19 ตุลาคม 2564 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 4856 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

มิวสิกวิดีโอ สรุปกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี พ.ศ. 2563 โดย ศูนย์ประสานงานดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและธนาคารออมสิน ร่วมกับ ธนาคารออมสินภาค 8 เผยแพร่ที่ Facebook Page ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นพลัส มทร.ล้านนา [https://fb.watch/8IJfRNGmJ4/]  

 

MV สุขที่ใจ...ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มทร.ล้านนา
คำร้อง/ทำนอง  สมาคมสหภาพคนตาบอด จังหวัดเชียงใหม่
ความยาว 3:49 นาที

 

จากบันทึกความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ ธนาคารออมสิน ร่วมกันเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการ "ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น" ปี พ.ศ.2563 เพื่อพัฒนาความรู้ เสริมภูมิปัญญา สร้างคุณค่าเศรษฐกิจชุมชน คณะทำงานได้สรุปผลงานการดำเนินงานโครงการฯ จำนวน 8 โครงการ ในช่วงปี พ.ศ. 2563 - 2564 โดยศูนย์ประสานงานดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและธนาคารออมสิน ร่วมกับธนาคารออมสินภาค 8 ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมการเข้าร่วมการประชุมและจัดนิทรรศการผลิตภัณฑ์เสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมการนำเสนอผลงานโครงการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กิจกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ จำนวน 8 แห่ง และกิจกรรมการนำเสนอผลการดำเนินงานและนิทรรศการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ประกอบบทเพลง "สุขที่ใจ...ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มทร.ล้านนา" แต่งคำร้อง-ทำนอง โดย สมาคมสหภาพคนตาบอด จังหวัดเชียงใหม่

 

กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี พ.ศ. 2563 มุ่งเน้นให้นักศึกษาที่เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการฯ เกิดการเรียนรู้ เข้าใจในวิถีชีวิต เอกลักษณ์และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาไทยและทรัพยากรอันมีค่าช่วยกันจรรโลงรักษาให้อยู่ คู่สังคมไทยสืบต่อไป นอกจากนั้นยังช่วยส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มองค์กรชุมชน ประเภท กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ/หรือ กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP องค์กรชุมชน / กลุ่มอาชีพในชุมชน ทั้งด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้สามารถเข้าสู่ตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขัน เกิดกระบวนการเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิดความสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างกลุ่มองค์กรชุมชน หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง และนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมไปถ่ายทอดสู่ชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ตอบสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยนักปฏิบัติ (Hands-On University) “ครูได้สอน นักศึกษาได้ฝึก สังคม ชุมชนได้ประโยชน์”


โครงการฯ จำนวน 8 โครงการ ประกอบด้วย

  1. โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มกาละแมแม่ทองใบ สันดอนรอม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
    ประเภท กินดี (อาหาร ,เครื่องดื่ม)
  2. โครงการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านห้วยกานเบเกอรี่ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
    ประเภท กินดี (อาหาร ,เครื่องดื่ม)
  3. โครงการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนหน่อไม้ฝรั่ง และผักตามฤดูกาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
    ประเภท กินดี (อาหาร ,เครื่องดื่ม)
  4. โครงการยกระดับศักยภาพด้านการท่องเที่ยว หมู่บ้านโป่งกุ่ม ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
    ประเภท อยู่ดี (ท่องเที่ยว ,ที่พักโฮมสเตย์)
  5. โครงการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านเชิงดอย ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
    ประเภท อยู่ดี (ท่องเที่ยว ,ที่พักโฮมสเตย์)
  6. โครงการพัฒนาศูนย์หัตถกรรมร่มโบราณ (จ้องแดงบ้านดอนเปา) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
    ประเภท ดูดี (สิ่งของ ,เครื่องใช้ ,ของที่ระลึก)
  7. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน  วิถีธรรมชาติ ..... วิถีท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้สูงอายุบ้านก้อทุ่ง ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
    ประเภท ดูดี (สิ่งของ ,เครื่องใช้ ,ของที่ระลึก)
  8. โครงการ ฝั้นฝ้าย  ปั้นฝัน ยุวพัฒน์ผลักดันผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย บ้านตาลกลาง  ตำบลบ้านตาล  อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
    ประเภท ดูดี (สิ่งของ ,เครื่องใช้ ,ของที่ระลึก)






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon