โลโก้เว็บไซต์ โครงการแคมป์ผู้ประกอบการเพื่อสร้างทักษะ และบ่มเพาะความเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรรุ่นใหม่แก่นักศึกษา (SAT Young Entrepreneur) | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร เขตพื้นที่ตาก

โครงการแคมป์ผู้ประกอบการเพื่อสร้างทักษะ และบ่มเพาะความเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรรุ่นใหม่แก่นักศึกษา (SAT Young Entrepreneur)

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 8 มีนาคม 2566 โดย ณัฐพงษ์ มาลีแก้ว จำนวนผู้เข้าชม 228 คน

(1) ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ และคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ตาก ได้เข้าร่วมโครงการแคมป์ผู้ประกอบการเพื่อสร้างทักษะ และบ่มเพาะความเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรรุ่นใหม่แก่นักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร (SAT Young Entrepreneur) ระหว่างวันที่ 2 – 6 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมดอนจั่นแกรนด์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ บริษัท เชียงใหม่เฟรชมิลค์ จำกัด และสวนผักโอ้กะจู๋ เพื่อเป็นเวทีสำหรับนักศึกษาและคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนแนวทางในการเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรในอนาคต นอกจากนี้ยังมีการประกวดแผนธุรกิจอีกด้วย โดยในครั้งนี้มีนักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการเข้าร่วม 2 คน ได้แก่ นางสาวศิรประภา​ คำกลม และนางสาวมนัญชยา เม้าพิมพ์พา นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าร่วม 2 คน ได้แก่ นายภูวเมศฐ์ ชาติณรงค์พัฒน์ และนายไพบูลย์ เนียมพูล และมีคณาจารย์ 2 คนเข้าร่วม ได้แก่ อาจารย์ชญาภา บัวน้อย และอาจารย์วชิระ หล่อประดิษฐ์ โดยนักศึกษาและคณาจารย์จากทั้ง 6 เขตพื้นที่ได้มีการจับฉลากแบ่งกลุ่มคละกัน ออกเป็นกลุ่มย่อย 8 กลุ่ม ในการนี้นักศึกษาจาก มทร.ล้านนา ตาก ได้รับรางวัลจากเวทีดังกล่าวจำนวน 2 รายการ ดังนี้

  1. นางสาวศิรประภา​ คำกลม​ นักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัล Popular Vote ซึ่งเป็นสมาชิกของทีม SAT888 ในผลิตภัณฑ์ กวนอูฟาร์ม บริการผสมเทียม นอสถานที่  โดยมีอาจารย์วัชรพงศ์ ศรีแสงเป็นที่ปรึกษา
  2. นายไพบูลย์ เนียมพูล นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับรางวัลชมเชย ซึ่งเป็นสมาชิกของทีม ฟ้าสางที่พงไพร ในผลิตภัณฑ์ น้ำส้มเกลี้ยงผสมเม็ดป๊อป โดยมีอาจารย์วชิระ หล่อประดิษฐ์เป็นที่ปรึกษา






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา