โลโก้เว็บไซต์ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จัดเวทีหารือพหุภาคี เรื่อง “ผลการสำรวจความก้าวหน้า SDGs ของ 15 จังหวัดนำร่อง” จ.ตาก       | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร เขตพื้นที่ตาก

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จัดเวทีหารือพหุภาคี เรื่อง “ผลการสำรวจความก้าวหน้า SDGs ของ 15 จังหวัดนำร่อง” จ.ตาก

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 21 มีนาคม 2567 โดย sasipol rujirawongwan จำนวนผู้เข้าชม 70 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

คณะวิทยาศาสตร์ฯ มทร.ล้านนา ตาก เข้าร่วมโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จัดเวทีหารือพหุภาคี เรื่อง “ผลการสำรวจความก้าวหน้า SDGs ของ 15 จังหวัดนำร่อง” จ.ตาก ณ ห้องประชุมบริษัท ทีเคการ์เม้นท์แม่สอด จำกัด อ.แม่สอด จ.ตาก      

รองศาสตราจารย์อัจฉรา ดลวิทยาคุณ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร      พร้อมด้วยอาจารย์ดลพร ว่องไวเวช และ อาจารย์สุภัตรา สิริสถิรสุนทร อาจารย์ประจำหลักสูตรธรุกิจอาหารและโภชนาการ เข้าร่วมกิจกรรมผลการสำรวจความก้าวหน้า SDGs ของ 15 จังหวัดนำร่องและกิจกรรมการติดตามผลการดำเนินงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จังหวัดตาก

ทั้งนี้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดย UNDP ได้ดำเนินโครงการที่มุ่งเน้นการนำ SDGs ไปปฏิบัติเชิงพื้นที่ในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรป และกระทรวงมหาดไทย โดยกำหนดการจัดเวทีหารือพหุภาคีดังกล่าว ใน 15 จังหวัดนำร่อง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

สำหรับในส่วนของ จ.ตาก มีกรอบการขับเคลื่อน SDGs เป็นวาระจังหวัด “ขจัดความยากจน” มีแนวทางการขับเคลื่อนด้านความมั่นคม มั่งคั่ง ยั่งยืน ประกอบด้วย ตากหลุดจน ตากคุณธรรม ตากมากกว่า ตากสวยงาม และตากร่วมใจ

โดยการจัดเวทีหารือในวันนี้ (19 มี.ค.67) ได้มีการนำเสนอรายงานผลการสำรวจและวิเคราะห์ SDG Profile  และ SDG Survey ซึ่ง จ.ตาก มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ต่อสภาพเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ในเวทีหารือยังได้เปิดรับฟังความคิดเห็นในประเด็นจากผลการศึกษา คิดว่าจังหวัดควรมีมาตรการ หรือกิจกรรมอย่างไรที่จะช่วยส่งเสริม ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในจังหวัด และจะมีแนวทางสนับสนุนมาตรการ หรือกิจกรรมดังกล่าวอย่างไร






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา